Tier ในวงการ Software ก็มีความหมายคล้ายกัน สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจขอแนะนำง่ายๆ โดยให้มองว่า "ชั้น" นั้นเป็นนามธรรม เมื่อนำมาใช้ในวงการ Software แล้ว จำเป็นต้องสร้างนามธรรมนั้นเป็นภาพลักษณ์ขึ้นมา
นิยามเฉพาะเจาะจงของ Tier ก็คือ "การรับ-ส่งข้อมูลในชั้นต่างๆ" นั่นเอง มักจะใช้คำว่า Tier กับ Software ทาง Business solution ที่มีระบบเครือข่าย มี Database Server ผู้เขียนจะจำแนกสถาปัตยกรรมเทียร์เป็น 3 แบบ ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
- 2 Tier
- 3 Tier
- Multi-tier
2 Tier คำเรียกนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้น เพราะส่วนใหญ่จะเรียกว่า Client / Server เป็นการรับ-ส่งข้อมูลจากโปรแกรมไปที่ Database Server ส่วนใหญ่จะใช้ในงานสำนักงาน หรือในองค์กรเดียวกัน (ดูภาพประกอบ)
ภาพแสดงการรับส่งข้อมูลแบบ Client / Server มีทั้งหมด 2 Tier |
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาอาจจะเรียกว่า Middle Tier หรือ Middle ware ก็ได้ มันคือ Software ที่เข้ามาจัดการการรับส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ Server อีกที อาจจะเหมือนพ่อ/แม่สื่อ ที่ทำให้ทั้ง Client และ Server มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อใดถึงต้องใช้ Middle Tier / Middle ware?
- เมื่อผู้ใช้งานมีจำนวนมาก จำเป็นต้องจัดการข้อมูลให้ทั่วถึง และลดภาระของ Database Server
- เมื่อมีการรับ - ส่ง ข้อมูลในระยะไกล มีข้อจำกัดทางกายภาพ
- เมื่อ Database Server มีความสามารถในการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ
แสดงการรับ - ส่งข้อมูลระหว่าง Client - Middle - Database Server มีทั้งหมด 3 ชั้น หรือ 3 Tier |
ในการใช้งานจริง Middle ware จะติดตั้งไว้คนละเครื่องกับ Database Server หรือภายใน Database Server ก็ได้
Multi-tier หรือ n-tier
หมายความว่าต้องมี Tier (ชั้น) จำนวนมากมาย (n-tier n = แทนชั้นเท่าใดก็ได้) นั่นหมายความว่าจะมีการแตกแขนง Tier ต่างๆมากขึ้นในชั้นของ Middle และ Server เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และมีผู้ใช้งานอย่างมหาศาล
ภาพแสดงชั้นของ Tier ที่มีมากกว่า 3 Tier |
ที่มา : (ภาพ) http://www.intersystems.com/trakcare/solution/section-04.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น